8 เคล็ดไม่ลับ รีไฟแนนซ์ยังไงช่วยลดภาระผ่อนต่อเดือนให้น้อยลงได้

1. คิดอีกทีระหว่างแบงก์เดิมหรือแบงก์ใหม่

 - อยากให้ดอกเบี้ยลดลงแต่ยังไม่อยากเปลี่ยนแบงก์ ให้คุณลองคุยกับแบงก์เดิมเพื่อ Retention ก่อนเพราะสิ่งต้องเปรียบเทียบจริงๆ คือค่าธรรมเนียมในการรีไฟแนนซ์และดอกเบี้ยที่แบงก์ใหม่เสนอให้

 

2. กลับไปเช็กสัญญาการกู้

 - ในเอกสารสัญญากู้จะมีระยะเวลาที่สามารถรีไฟแนนซ์ได้ว่าเราสามารถรีไฟแนนซ์ได้เมื่อไหร่ ส่วนมากแล้วแบงก์จะระบุไว้ว่าอนุญาตให้รีไฟแนนซ์ได้หลังผ่อนบ้านไปแล้ว 3 ปี ถ้าอยากรีไฟแนนซ์ก่อนนั้นจะต้องชำระค่าปรับใ้ห้กับแบงก์

 

3. เช็กข้อมูลยอดหนี้คงเหลือ

 - สามารถเช็กได้กับแบงก์โดยตรงเพื่อสรุปยอดออกมา เพื่อนำข้อมูลส่วนนี้ไปประกอบการตัดสินใจและคำนวณกับข้อเสนอที่แบงก์ให้มา

 

4. ตามหาหาธนาคารที่เหมาะสม

 - หลังจากนั้นให้หาแบงก์ที่เหมาะสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้านโดยเลือกจากข้อเสนอของดอกเบื้ยและระยะเวลาในการจ่ายหนี้ ซึ่งแต่ละแบงก์ก็จะมีโปรโมชั่นให้เลือกหลากหลายมาก

 

5. เตรียมเอกสารให้พร้อม

- ซึ่งการรีไฟแนนซ์ใหม่จะต้องเตรียมเอกสาร 3 ประเภทคือ

  1.เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและทะเบียนสมรส เป็นต้น

  2.เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน Statement ย้อนหลัง 6 เดือน เป็นต้น

  3.เอกสารหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน และสัญญาเงินกู้จากแบงก์เดิม เป็นต้น

 

6. ยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์

 - เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว เราสามารถเข้าไปขอยื่นสินเชื่อกับแบงก์ได้ เมื่อแบงก์รับเรื่องจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปประเมินราคาหลักประกันเพื่อประกอบการอนุมัติ และเมื่ออนุมัติแล้วแบงก์จะติ่ดต่อกับแบงก์เดิมเพื่อสอบถามหนี้ที่เหลือและนัดวันไถ่ถอน

 

7. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

เมื่ออนุมัติเรียบร้อยแล้วจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะน้อยกว่าการซื้อบ้านปกติ คือ

▫️ค่าประเมินราคา 2-3 พันบาท ขึ้นอยู่กับแบงก์

▫️ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้

▫️ค่าประกันอัคคีภัย

▫️ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท

▫️ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของแบงก์

 

8. ทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน

 - แบงก์จะมีเจ้าหน้าที่ถือตัวสัญญาไปให้เซ็นที่กรมที่ดินพร้อมกับสัญญาใหม่ที่จะจดจำนองในวันเดียวกัน หลังทำสัญญาและจดจำนองแล้ว เท่านี้ก็ถือว่าเสร็จครบกระบวนการรีไฟแนนซ์

 

Cr.krungsri